วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

นิทานสอนใจ"การใช้คำไทยผิด"-SuperEnzyme

 
    


 https://www.youtube.com/watch?v=mQVHTzCDnEY


 ในวิถีแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไร้พรมแดน ท่ามกลางสังคมที่มีค่านิยมยอมรับนับถือวัตถุมากกว่าคุณค่าของจิตใจนั้น หลายๆสิ่งกำลังเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังดำดิ่งลงสู่ห้วงเหวแห่งหายนะอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คือ ความเป็นไทยและภาษาไทย ภาษาชาติของเรานั่นเอง ที่กำลังถูกค่านิยมของคนรุ่นใหม่รุกรานจนแทบไม่หลงเหลือเค้าเดิมอยู่เลย


ปัญหาการใช้ภาษาไทยของครูและนักเรียน

    ในวิถีแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไร้พรมแดน ท่ามกลางสังคมที่มีค่านิยมยอมรับนับถือวัตถุมากกว่าคุณค่าของจิตใจนั้น หลายๆสิ่งกำลังเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังดำดิ่งลงสู่ห้วงเหวแห่งหายนะอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คือ ความเป็นไทยและภาษาไทย ภาษาชาติของเรานั่นเอง ที่กำลังถูกค่านิยมของคนรุ่นใหม่รุกรานจนแทบไม่หลงเหลือเค้าเดิมอยู่เลย
        ปัญหาการใช้ภาษาไทยนั้นเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆจนในขณะนี้ลุกลามไปทุกหย่อมหญ้า แม้แต่ในสถานศึกษาอันเป็นแหล่งหล่อหลอมความรู้ก็มิได้ละเว้น ภาษาไทยกลายเป็นวิชาที่น่าเบื่อของผู้เรียน และสุดท้ายผู้เรียนจึงได้รับความรู้แบบงูๆปลาๆที่จะนำไปใช้ต่อไปอย่างผิดๆ หากเราจะแยกปมปัญหาการใช้ภาษาไทยในโรงเรียนนั้น สามารถแยกเป็นประเด็นใหญ่ๆได้  ๒ ประเด็น คือ
         ๑.ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจาก ครู เนื่องจากครู คือ ผู้ประสาทวิชา เป็นผู้ให้ความรู้แก่ศิษย์ ดังนั้นความรู้ในด้านต่างๆ เด็กๆจึงมักจะได้รับมาจากครูเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ครูบางคนนั้นมีความรู้แต่ไม่แตกฉาน โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความละเอียดอ่อน และมีส่วนประกอบแยกย่อยอย่างละเอียดลออ เมื่อครูไม่เข้าใจภาษาไทยอย่างกระจ่าง จึงทำให้นักเรียนไม่เข้าใจตามไปด้วย จนพานเกลียดภาษาไทยไปในที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นอยู่มากมายในปัจจุบัน
         ความเป็นครูนั้น แน่นอนการสอนย่อมสำคัญที่สุด ครูบางคนมีความรู้อยู่ในหัวเต็มไปหมดแต่กลับสอนไม่เป็น ซึ่งครูส่วนใหญ่มิได้ยอมรับปัญหานี้ บางคนสักแต่ว่าสอน แต่ไม่เข้าใจเด็กว่าทำอย่างไร อธิบายอย่างไร เด็กซึ่งเปรียบเสมือนผ้าข้าวนั้นจะซึมซับเอาความรู้จากท่านไปได้มากที่สุด การทำความเข้าใจเด็กจึงเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญไม่แพ้ภูมิความรู้ที่มีอยู่ในตัวครูเลย   ครูจึงควรหันกลับมายอมรับความจริง และพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเองให้เหมาะสม
กับที่เป็นผู้รู้ที่คนทั่วไปยอมรับนับถือ
         ๒.ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากนักเรียน ในสังคมยุคไซเบอร์ ซึ่งสามารถเข้าไปใช้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ทุกภาคส่วน “           ในวิถีแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไร้พรมแดน ท่ามกลางสังคมที่มีค่านิยมยอมรับนับถือวัตถุมากกว่าคุณค่าของจิตใจนั้น หลายๆสิ่งกำลังเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังดำดิ่งลงสู่ห้วงเหวแห่งหายนะอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คือ ความเป็นไทยและภาษาไทย ภาษาชาติของเรานั่นเอง ที่กำลังถูกค่านิยมของคนรุ่นใหม่รุกรานจนแทบไม่หลงเหลือเค้าเดิมอยู่เลย

        ปัญหาการใช้ภาษาไทยนั้นเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆจนในขณะนี้ลุกลามไปทุกหย่อมหญ้า แม้แต่ในสถานศึกษาอันเป็นแหล่งหล่อหลอมความรู้ก็มิได้ละเว้น ภาษาไทยกลายเป็นวิชาที่น่าเบื่อของผู้เรียน และสุดท้ายผู้เรียนจึงได้รับความรู้แบบงูๆปลาๆที่จะนำไปใช้ต่อไปอย่างผิดๆ หากเราจะแยกปมปัญหาการใช้ภาษาไทยในโรงเรียนนั้น สามารถแยกเป็นประเด็นใหญ่ๆได้  ๒ ประเด็น คือ
         ๑.ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจาก ครู เนื่องจากครู คือ ผู้ประสาทวิชา เป็นผู้ให้ความรู้แก่ศิษย์ ดังนั้นความรู้ในด้านต่างๆ เด็กๆจึงมักจะได้รับมาจากครูเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ครูบางคนนั้นมีความรู้แต่ไม่แตกฉาน โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความละเอียดอ่อน และมีส่วนประกอบแยกย่อยอย่างละเอียดลออ เมื่อครูไม่เข้าใจภาษาไทยอย่างกระจ่าง จึงทำให้นักเรียนไม่เข้าใจตามไปด้วย จนพานเกลียดภาษาไทยไปในที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นอยู่มากมายในปัจจุบัน
         ความเป็นครูนั้น แน่นอนการสอนย่อมสำคัญที่สุด ครูบางคนมีความรู้อยู่ในหัวเต็มไปหมดแต่กลับสอนไม่เป็น ซึ่งครูส่วนใหญ่มิได้ยอมรับปัญหานี้ บางคนสักแต่ว่าสอน แต่ไม่เข้าใจเด็กว่าทำอย่างไร อธิบายอย่างไร เด็กซึ่งเปรียบเสมือนผ้าข้าวนั้นจะซึมซับเอาความรู้จากท่านไปได้มากที่สุด การทำความเข้าใจเด็กจึงเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญไม่แพ้ภูมิความรู้ที่มีอยู่ในตัวครูเลย   ครูจึงควรหันกลับมายอมรับความจริง และพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเองให้เหมาะสม
กับที่เป็นผู้รู้ที่คนทั่วไปยอมรับนับถือ
         ๒.ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากนักเรียน ในสังคมยุคไซเบอร์ ซึ่งสามารถเข้าไปใช้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ทุกภาคส่วน “ เด็ก” ซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้อยากลองจึงมิได้ให้ความสนใจเพียงแค่การศึกษาค้นคว้า ข้อมูลการศึกษาเท่านั้น หากแต่สนใจกับภาคบันเทิงควบคู่ไปด้วย และโดยแท้จริงแล้ว มักจะให้ความสำคัญกับประเด็นหลังมากกว่าการค้นคว้าความรู้เสียด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กนั้นเป็นปมปัญหาสำคัญ ยิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
         ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตนั้นเริ่มลุกลามมาจากโปรแกรมแช็ท รูมและเกมออนไลน์ ซึ่งดูคล้ายเป็นการสนทนากันธรรมดา แต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสแล้ว มิใช่เลย การสนทนาอันไม่มีขีดจำกัดของภาษาทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ดังเช่นที่พบตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน และในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาให้แก่วงการภาษาไทยด้วย นั่นคือการกร่อนคำ
และการสร้างคำใหม่ให้มีความหมายแปลกไปจากเดิม หรืออย่างที่เรียกว่าภาษาเด็กแนวนั่นเอง ดังจะขอยกตัวอย่าง ดังนี้
          สวัสดี เป็น ดีครับ ดีค่ะ
          ใช่ไหม เป็น ชิมิ
          โทรศัพท์ เป็น ทอสับ
          กิน เป็น กิง
          จะเห็นได้ว่าคำเหล่านี้ถูกคิดขึ้นและใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเหตุผล ๒ ประการ  คือ  เพื่อให้ดูเป็นคำที่น่ารัก และพิมพ์ง่ายขึ้น โดยที่ผู้ใช้ไม่คำนึงถึงว่า นั่น คือการทำลายภาษาไทยโดยทางอ้อม เพราะหลายๆคนนำคำเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันเสียด้วยซ้ำ ดังจะเห็นได้ว่า เด็กบางคนนำภาษาเหล่านี้มาใช้ในโรงเรียนจนแพร่หลาย นั่นคือความมักง่ายที่นำพาความหายนะมาสู่วงการภาษาไทยที่ไม่ควรมองข้าม
         ปัญหาการใช้ภาษาไทยเป็นปัญหาที่ลุกลามใหญ่โตกลายเป็นไฟลามทุ่งอยู่ทุกวันนี้ หากไม่ได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ภาษาไทยอันถือเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทยนี้อาจจะบอบช้ำเสียจนเกิน เยียวยา การปลูกฝังจิตสำนึกและความตระหนักแก่ทุกคนในชาติจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะทุกสิ่งที่มนุษย์ยึดถือปฏิบัติล้วนมาจากจิตสำนึกทั้งสิ้น เมื่อกระทำได้ดังนี้แล้ว ไม่ว่าวิถีชีวิตแบบไหน หรือค่านิยมสมัยใหม่ประเภทใดก็ไม่สามารถทำลายภาษาไทยของเราได้อย่างแน่นอน

ปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น

/data/content/25193/cms/e_ajlnptuw2367.jpg

          วัยรุ่นไทยสมัยนี้นิยม ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพื่อการติดต่อที่รวดเร็วและเนื่องจากความเร็วในการ สื่อสารรและความยากลำบากในการพิมพ์ตัวอักษรทำให้วัยรุ่นทำให้คำเหล่านั้น สั้นลงจนกลายเป็นภาษาวิบัติ
              
          ภาษาวิบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ตรงกับกับหลักภาษาในด้านการสะกดคำคำว่า 'ภาษาวิบัติ' ใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อย รวมถึงการใช้คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจากเดิม คำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลี หมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย
          ในประเทศไทย มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาเด็กไทยขาดการศึกษารวมถึงปัญหาภาษาวิบัติทำให้ เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่ภาษาวิบัติที่มีความหมายใน เชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะวงการที่เป็นศัพท์สแลง
          ทั้งนี้ การเปิดใช้พจนานุกรมเพื่อค้นหาคำที่ควรใช้ให้ถูกต้องอาจเป็นทางเลือกที่ ดี[ต้องการอ้างอิง] ทางบัณฑิตยสถานได้กำหนดคำที่ใช้อย่างเป็นทางการหรืออยู่ในรูปแบบมาตรฐาน หากใช้ผิดอาจกลายเป็นคำวิบัติได้[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งคำวิบัติไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของภาษาแต่อย่างใด[ต้องการอ้างอิง] เป็นเพียงการใช้ภาษาให้แตกต่างจากปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจใช้จากรุ่นสู่รุ่นไปจนกว่าคำวิบัตินั้นจะหายไปจากสังคมนั้น ๆ
          นิธิ เอียวศรีวงศ์ ว่า ภาษาวิบัติเป็นการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่ผู้ใหญ่ในสังคมไม่ชอบ แม้ภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ผู้ใหญ่ไม่ชอบให้ภาษาเปลี่ยน การให้เหตุผลว่าภาษาไทยไม่ควรเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นภาษาของชาติที่มีความศักดิ์สิทธิ์ นิธิเห็นว่าเป็นเหตุผลแบบไสยศาสตร์ ไม่ค่อยน่าฟัง นิธิยังเห็นว่า ปัญหาของภาษาไทยในปัจจุบันคือ การใช้ภาษาไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ไวยากรณ์ การใช้ศัพท์หรือการเรียบเรียง เป็นต้น และการไม่ศึกษาภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปนี้เองที่จะเป็นเหตุให้เกิด "ภาษาวิบัติ"


“ภาษาไทย” ยุคใหม่ รู้ใช้ให้ถูกต้อง

/data/content/25190/cms/e_ehklqrtuy157.jpg
         


          ภาษาไทยเป็นทั้งวัฒนธรรม และความภาคภูมิใจของคนไทย แต่ปัจจุบันคนไทยจำนวนไม่น้อย ไม่รู้ว่าพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีกี่รูป กี่เสียง และยังมีคนไทยอีกจำนวนมากที่ยังพูดภาษาไทยผิดบ้าง เขียนผิดบ้าง หรืออ่านผิด บ้างก็รวบรัดตัดตอนคำให้สั้นลง เพื่อความสะดวกจนเกิดปัญหาการสื่อสารและเข้าใจความหมายของภาษาในทางที่ผิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เสน่ห์ของภาษาไทยลดลงไป

    /data/content/25190/cms/e_adfhimnoqyz4.jpg
            แม้ปัญหาการใช้ภาษาไทยได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานหลายสิบปี แต่ในยุคปัจจุบันนี้ปัญหายิ่งวิกฤติความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีปัจจัยหนุนนำที่สำคัญนั่นคือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว เราจึงพบการใช้ภาษาไทยแบบผิด ๆ มากมายจนเกือบจะกลายเป็นความคุ้นชิน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ยิ่งน่าเป็นห่วงมากที่สุดเป็นกลุ่มที่นิยมใช้ภาษาที่มีวิวัฒนาการทางภาษาที่เฉพาะกลุ่มซึ่งเป็นภาษาที่เกือบจะไม่มีไวยากรณ์ ไม่ว่าจะจากการรับส่งข้อความสั้น (SMS)     การสนทนาออนไลน์ (Line)  หรือแม้แต่การแสดงความคิดเห็นในโลกอินเทอร์เน็ต (Facebook)



ภาษาไทย...แก่นแท้แห่งความเป็นไทย


วามเป็นไทยโดดเด่นด้วยภาษา       อักษราล้วนหลากมากความหมาย
                       เสน่ห์เสียงสูงต่ำคำคมคาย                ร่วมสืบสายสานคุณค่าภาษาไทย

            ในโลกนี้จะมีสักกี่ชาติกี่ประเทศ ที่มีภาษาเป็นของตนเอง และจะมีประเทศใดเล่าที่จะมีความงามทางภาษาอันเป็นวิจิตรเอกลักษณ์ ดั่งเช่น ประเทศไทย
           หากจะกล่าวว่า ภาษาไทย  เป็นภาษาที่มีความงาม และไพเราะที่สุดในโลกก็คงไม่ผิดนัก  จากเหตุผลที่ว่าการที่ภาษาไทยมีเสียงสระ และเสียงพยัญชนะ ที่มีการผสมผสานกันอย่างลงตัว น่าทึ่ง  แล้วยังมีเสียงวรรณยุกต์ที่เปรียบเสมือนเสียงสูงต่ำแห่งดนตรี อีกทั้งเรื่องความงดงามของภาษาที่มีการสรรคำมาใช้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้ง การเล่นคำ การหลากคำ  การซ้ำคำ คำพ้อง     หรือคำผวน คำผัน การใช้โวหารต่างๆ เหล่านี้ล้วนแสดงถึงความมีเสน่ห์แห่งภาษาอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง       
           ภาษาไทยถือว่าเป็นวัฒนธรรมประจำชาติแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งและเป็น เครื่องมือสำคัญของการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ผู้ที่สามารถใช้ภาษาได้ดีจึงสามารถประสบความสำเร็จในการสื่อสารในระดับต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และในทางกลับกัน หากมีการนำภาษาไปใช้ไม่เหมาะสม ความผิดเพี้ยนแห่งภาษาย่อมจะส่งผลให้เกิดความเสียหายหลายประการอย่างแน่ นอน   ทั้งความเสียหายโดยตรงคือการใช้สื่อสารอาจไม่ประสบความสำเร็จแล้ว  ยังมีความเสียหายของภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่เราต่างภาคภูมิใจกันมา ช้านาน  
          จากพระราชดำรัสตอนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ว่า  “ภาษาไทยเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่ง  คือเป็นทางสำหรับแสดงความคิดความเห็นอย่างหนึ่ง  เป็นสิ่งสวยงามอย่างหนึ่งเช่นในทางวรรณคดี เป็นต้น  ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาให้ดี  ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองซึ่งต้องหวงแหน”     ซึ่งพระราชทานเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการประชุมทาง วิชาการ  ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อวันที่  ๒๙  กรกฎาคม  ๒๕๐๕    จนเป็นเหตุให้ในเวลาต่อมาคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”เพื่อเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย รวมถึงเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงแสดงความห่วงใยและ พระราชทานแนวคิดต่างๆเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย แนวคิดสำคัญ ๆ เหล่านี้นั้นบ่งชี้ชัด และปลุกทุกคนให้ตระหนักถึงความภาคภูมิใจที่คนไทยมีภาษาประจำชาติ  ทั้งทรงฝากข้อคิดถึงการดำรงรักษาไว้ซึ่งสมบัติล้ำค่าของชาติไว้ว่า
 “เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล  จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออก เสียง  คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน  อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในการใช้”


          สิ่งที่พสกนิกรประจักษ์  ในการเป็น "ในหลวงนักปราชญ์ภาษาไทย"  คือ  การที่ทรงมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทย  ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย  ทั้งภาษาบาลี  และสันสกฤต  ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่ สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์  มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าเป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม  และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย  ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปล  เรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ รวมถึงพระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้น ๆ หลายบท  รวมทั้งพระราชนิพนธ์เรื่อง  พระมหาชนก  และหากกล่าวถึงบทเพลงที่มีความไพเราะทั้งด้านลีลาภาษาและความหมายอันลึกซึ้ง กินใจ  คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ว่าบทเพลงพระราชนิพนธ์แห่งองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นั้นมีความไพเราะน่าฟังยิ่งนัก นั่นแสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพแห่งการใช้ภาษาไทยอย่างแท้จริง
         พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมฯที่มีต่อวงการภาษาไทย  เท่ากับเป็นการจุดประกายในหัวใจของคนไทยทั้งชาติ  ให้เกิดความหวงแหนในภาษาประจำชาติ      
          ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว  เทคนิคใหม่ ๆในการติดต่อสื่อสารผุดขึ้นมากมาย  และเน้นความสะดวกรวดเร็วเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ  ภาษาไทยซึ่งเป็นสื่อกลางสำคัญในการติดต่อสื่อสารและผูกพันต่อการดำรงชีวิต ประจำวันของคนไทย  จึงได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของความเจริญก้าวหน้าเหล่านั้นอย่างยากที่จะหลีก เลี่ยงได้   ภาษาไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนจึงเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างน่าวิตก  และหากไม่เร่งรีบหาทางแก้ไขและป้องกันเสียแต่เนิ่น ๆ   นับวันภาษาไทยก็จะยิ่งเสื่อมลง  เป็นผลเสียต่อเอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยอย่างไม่ต้องสงสัย 
           ภาษาไทยเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติ  เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงความเป็นคนไทยอันน่าภาคภูมิใจยิ่ง นัก      จะมีสิ่งใดที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นเกราะป้องกันภาษาประจำชาติจากการถูกคุก คาม  นอกเสียจากว่าคนไทยจะมีจิตสำนึก  ตระหนักถึงคุณค่าของการมีภาษาประจำชาติ และสนองตอบต่อพระราชดำรัสแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในด้านการใช้ ภาษาไทยและดำรงรักษาภาษาไทยไว้คู่กับเอกราชของชาติไทยตลอดไป
                         คือแก่นแท้แลหัวใจไทยทั้งชาติ   คือศิลป์ศาสตร์แห่งศักดิ์ศรีที่สืบสาน
                      คือลีลาลำนำคือคำกานท์               ประจักษ์จารขานค่าคำว่าไทย
                     วัฒนธรรมล้ำค่าศรัทธามั่น               ร่วมสร้างสรรค์ส่งเสริมทุกสมัย
                      เอกลักษณ์แห่งชาติประกาศไกร      เกิดเป็นไทยให้รู้ค่าภาษาตน 
                                                                               ค