วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

“ภาษาไทย” ยุคใหม่ รู้ใช้ให้ถูกต้อง

/data/content/25190/cms/e_ehklqrtuy157.jpg
         


          ภาษาไทยเป็นทั้งวัฒนธรรม และความภาคภูมิใจของคนไทย แต่ปัจจุบันคนไทยจำนวนไม่น้อย ไม่รู้ว่าพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีกี่รูป กี่เสียง และยังมีคนไทยอีกจำนวนมากที่ยังพูดภาษาไทยผิดบ้าง เขียนผิดบ้าง หรืออ่านผิด บ้างก็รวบรัดตัดตอนคำให้สั้นลง เพื่อความสะดวกจนเกิดปัญหาการสื่อสารและเข้าใจความหมายของภาษาในทางที่ผิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เสน่ห์ของภาษาไทยลดลงไป

    /data/content/25190/cms/e_adfhimnoqyz4.jpg
            แม้ปัญหาการใช้ภาษาไทยได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานหลายสิบปี แต่ในยุคปัจจุบันนี้ปัญหายิ่งวิกฤติความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีปัจจัยหนุนนำที่สำคัญนั่นคือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว เราจึงพบการใช้ภาษาไทยแบบผิด ๆ มากมายจนเกือบจะกลายเป็นความคุ้นชิน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ยิ่งน่าเป็นห่วงมากที่สุดเป็นกลุ่มที่นิยมใช้ภาษาที่มีวิวัฒนาการทางภาษาที่เฉพาะกลุ่มซึ่งเป็นภาษาที่เกือบจะไม่มีไวยากรณ์ ไม่ว่าจะจากการรับส่งข้อความสั้น (SMS)     การสนทนาออนไลน์ (Line)  หรือแม้แต่การแสดงความคิดเห็นในโลกอินเทอร์เน็ต (Facebook)





    
/data/content/25190/cms/e_gknptw134678.jpg      สำหรับภาษาของวัยรุ่นที่พบเห็นกันบ่อยๆ นั้น มีทั้งภาษาที่ใช้ในการพูดและเขียน โดยมักพูดหรือเขียนให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น เช่น “มโน”หมายถึง นึกคิดไปเองฝ่ายเดียว “จุงเบย” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่าจังเลย เพื่อแสดงความน่ารักอ่อนวัย “บ่องตง” มาจากคำว่า บอกตรงๆ “ฟิน” มาจากคำว่า ฟินาเล่ (Finale) ในภาษาอังกฤษหมายถึงจบแบบสมบูรณ์แบบ “ฝุด ฝุด” หมายถึง สุดๆ ไปเลย “เกรียน” เป็นคำพูดถึงการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม “หงายเงิบ” เป็นคำแสดงอาการตกใจจนแทบหงายหลัง เป็นต้น
          นอกจากนี้ยังมีคำอีกมากมายที่ถูกบัญญัติขึ้นโดยกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นวัยรุ่น และนับวันยิ่งขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากทุกภาคส่วนในสังคมยังคงนิ่งเฉยไม่เร่งรีบหาทางแก้ไข และยังคงมีการใช้บ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดความเคยชิน อีกทั้งมีการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนในที่สุดก็จะกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งน่าหวั่นเกรงยิ่งนักว่าในอนาคตปัญหาวิกฤตภาษาไทยก็จะยิ่งยากเกินการ เยียวยาแก้ไข
    
    “ภาษาวัยรุ่น”ถึงเวลาก็ล้าสมัยไปเอง
          โดยเรื่องนี้ คุณสุดใจ พรหมเกิด” ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน อธิบายว่า ภาษา ที่มีการบัญญัติคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาใช้ในการสื่อสารเฉพาะในกลุ่ม หรือสังคมนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรและไม่ควรวิตกกังวลเกินไป เพราะเป็นเพียงวิวัฒนาการของภาษาที่เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ โดยจะนิยมพูดกันช่วงเวลาสั้นๆ ตามกระแสเท่านั้น เช่นคำว่า จ๊าบ, เจ๋ง, โดน เป็นต้น เมื่อเวลาเลยผ่านไปคำศัพท์ยอดฮิตเหล่านี้ก็จะล้าสมัยไปเอง
          /data/content/25190/cms/e_eikqrstuy379.jpgคุณสุดใจ บอกอีกว่า สิ่ง หนึ่งที่สำคัญและน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการแก้ปัญหานี้ คือ การทำให้เยาวชนรุ่นใหม่ตระหนักรู้ในคุณค่าของภาษาไทย ด้วยการส่งเสริม “การอ่าน” เพราะการอ่านจะช่วยฝึกการออกเสียงตัวสะกดต่างๆ ของภาษาไทยให้ถูกต้อง รวมทั้งยัง ช่วยสร้างความสุนทรีย์ความคิดจินตนาการสร้างสรรค์ต่างๆได้อีกด้วย นอกจากนี้วัยเด็กยังเป็นวัยที่ซึมซับสิ่งต่างๆได้ง่าย เพราะสมองเปิดรับเต็มที่ ดังน้ันพ่อแม่ควรฝึกสอนให้เด็กรู้จักการอ่านตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานด้านภาษาที่ดีได้อีกทางหนึ่ง
          “แบบเรียน หนังสือก็มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาไทยเช่นกัน ดังน้ันเราต้องทำให้กระบวนการเรียนการสอนของไทยก้าวไปสู่ศตวรรตที่ 21 อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการทำให้เด็กเกิดความใฝ่รู้ อยากเรียนรู้ด้วยตัวเอง ต้องไม่ใช่การบังคับหรือยัดเยียด แต่ต้องเป็นการอ่านหนังสืออย่างมีความสุข การทำให้การอ่านเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของเด็กในทุกช่วงวัย โดยอาจจะเริ่มจากสมุดภาพ แล้วค่อยๆพัฒนาเป็นการอ่านวรรณกรรมที่มีเนื้อหามากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยได้ด้วยตัวเอง” ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน กล่าว
        เผย“ไลน์-เฟซบุ๊ค”ทำภาษาไทยเพี้ยน
          ขณะที่ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ ภาษาไทยบนสังคมออนไลน์ของคนรุ่นใหม่” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.7 เห็นว่าการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันเข้าขั้นวิกฤติและควรช่วยรณรงค์อย่างจริงจัง ส่วนผู้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันมากที่สุด คือ ดารา นักร้อง ร้อยละ 36.0 รองลงมาร้อยละ 33.3 คือ สื่อมวลชนนักข่าว และร้อยละ 19.2 คือครู อาจารย์ ส่วนร้อยละ 38.8 ให้เหตุผลที่มักนิยมใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยนไปในสังคมออนไลน์ ว่าใช้ตามๆ กันจะได้เกาะกระแส รองลงมาร้อยละ 32.4 ให้เหตุผลว่า สะกดง่าย สั้น และสื่อสารได้เร็ว และร้อยละ 26.9 ให้เหตุผลว่าเป็นคำที่ใช้แล้วรู้สึกขำและคลายเครียดได้
          การใช้ภาษาตามสมัยนิยมของวัยรุ่น เพียงเพราะดูเป็นคำที่น่ารักและยังช่วยให้พิมพ์ง่ายขึ้น โดยที่ไม่คำนึงถึงสิ่งที่จะตามมา นั่นคือการทำลายภาษาไทยทางอ้อม กลายเป็นสิ่งที่จะนำพาความวิบัติมาสู่วงการภาษาไทย ดังนั้นเราควรตระหนัก ถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ให้มีความถูกต้องงดงามคงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น