วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

นิทานสอนใจ"การใช้คำไทยผิด"-SuperEnzyme

 
    


 https://www.youtube.com/watch?v=mQVHTzCDnEY


 ในวิถีแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไร้พรมแดน ท่ามกลางสังคมที่มีค่านิยมยอมรับนับถือวัตถุมากกว่าคุณค่าของจิตใจนั้น หลายๆสิ่งกำลังเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังดำดิ่งลงสู่ห้วงเหวแห่งหายนะอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คือ ความเป็นไทยและภาษาไทย ภาษาชาติของเรานั่นเอง ที่กำลังถูกค่านิยมของคนรุ่นใหม่รุกรานจนแทบไม่หลงเหลือเค้าเดิมอยู่เลย


ปัญหาการใช้ภาษาไทยของครูและนักเรียน

    ในวิถีแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไร้พรมแดน ท่ามกลางสังคมที่มีค่านิยมยอมรับนับถือวัตถุมากกว่าคุณค่าของจิตใจนั้น หลายๆสิ่งกำลังเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังดำดิ่งลงสู่ห้วงเหวแห่งหายนะอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คือ ความเป็นไทยและภาษาไทย ภาษาชาติของเรานั่นเอง ที่กำลังถูกค่านิยมของคนรุ่นใหม่รุกรานจนแทบไม่หลงเหลือเค้าเดิมอยู่เลย
        ปัญหาการใช้ภาษาไทยนั้นเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆจนในขณะนี้ลุกลามไปทุกหย่อมหญ้า แม้แต่ในสถานศึกษาอันเป็นแหล่งหล่อหลอมความรู้ก็มิได้ละเว้น ภาษาไทยกลายเป็นวิชาที่น่าเบื่อของผู้เรียน และสุดท้ายผู้เรียนจึงได้รับความรู้แบบงูๆปลาๆที่จะนำไปใช้ต่อไปอย่างผิดๆ หากเราจะแยกปมปัญหาการใช้ภาษาไทยในโรงเรียนนั้น สามารถแยกเป็นประเด็นใหญ่ๆได้  ๒ ประเด็น คือ
         ๑.ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจาก ครู เนื่องจากครู คือ ผู้ประสาทวิชา เป็นผู้ให้ความรู้แก่ศิษย์ ดังนั้นความรู้ในด้านต่างๆ เด็กๆจึงมักจะได้รับมาจากครูเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ครูบางคนนั้นมีความรู้แต่ไม่แตกฉาน โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความละเอียดอ่อน และมีส่วนประกอบแยกย่อยอย่างละเอียดลออ เมื่อครูไม่เข้าใจภาษาไทยอย่างกระจ่าง จึงทำให้นักเรียนไม่เข้าใจตามไปด้วย จนพานเกลียดภาษาไทยไปในที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นอยู่มากมายในปัจจุบัน
         ความเป็นครูนั้น แน่นอนการสอนย่อมสำคัญที่สุด ครูบางคนมีความรู้อยู่ในหัวเต็มไปหมดแต่กลับสอนไม่เป็น ซึ่งครูส่วนใหญ่มิได้ยอมรับปัญหานี้ บางคนสักแต่ว่าสอน แต่ไม่เข้าใจเด็กว่าทำอย่างไร อธิบายอย่างไร เด็กซึ่งเปรียบเสมือนผ้าข้าวนั้นจะซึมซับเอาความรู้จากท่านไปได้มากที่สุด การทำความเข้าใจเด็กจึงเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญไม่แพ้ภูมิความรู้ที่มีอยู่ในตัวครูเลย   ครูจึงควรหันกลับมายอมรับความจริง และพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเองให้เหมาะสม
กับที่เป็นผู้รู้ที่คนทั่วไปยอมรับนับถือ
         ๒.ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากนักเรียน ในสังคมยุคไซเบอร์ ซึ่งสามารถเข้าไปใช้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ทุกภาคส่วน “           ในวิถีแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไร้พรมแดน ท่ามกลางสังคมที่มีค่านิยมยอมรับนับถือวัตถุมากกว่าคุณค่าของจิตใจนั้น หลายๆสิ่งกำลังเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังดำดิ่งลงสู่ห้วงเหวแห่งหายนะอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คือ ความเป็นไทยและภาษาไทย ภาษาชาติของเรานั่นเอง ที่กำลังถูกค่านิยมของคนรุ่นใหม่รุกรานจนแทบไม่หลงเหลือเค้าเดิมอยู่เลย

        ปัญหาการใช้ภาษาไทยนั้นเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆจนในขณะนี้ลุกลามไปทุกหย่อมหญ้า แม้แต่ในสถานศึกษาอันเป็นแหล่งหล่อหลอมความรู้ก็มิได้ละเว้น ภาษาไทยกลายเป็นวิชาที่น่าเบื่อของผู้เรียน และสุดท้ายผู้เรียนจึงได้รับความรู้แบบงูๆปลาๆที่จะนำไปใช้ต่อไปอย่างผิดๆ หากเราจะแยกปมปัญหาการใช้ภาษาไทยในโรงเรียนนั้น สามารถแยกเป็นประเด็นใหญ่ๆได้  ๒ ประเด็น คือ
         ๑.ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจาก ครู เนื่องจากครู คือ ผู้ประสาทวิชา เป็นผู้ให้ความรู้แก่ศิษย์ ดังนั้นความรู้ในด้านต่างๆ เด็กๆจึงมักจะได้รับมาจากครูเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ครูบางคนนั้นมีความรู้แต่ไม่แตกฉาน โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความละเอียดอ่อน และมีส่วนประกอบแยกย่อยอย่างละเอียดลออ เมื่อครูไม่เข้าใจภาษาไทยอย่างกระจ่าง จึงทำให้นักเรียนไม่เข้าใจตามไปด้วย จนพานเกลียดภาษาไทยไปในที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นอยู่มากมายในปัจจุบัน
         ความเป็นครูนั้น แน่นอนการสอนย่อมสำคัญที่สุด ครูบางคนมีความรู้อยู่ในหัวเต็มไปหมดแต่กลับสอนไม่เป็น ซึ่งครูส่วนใหญ่มิได้ยอมรับปัญหานี้ บางคนสักแต่ว่าสอน แต่ไม่เข้าใจเด็กว่าทำอย่างไร อธิบายอย่างไร เด็กซึ่งเปรียบเสมือนผ้าข้าวนั้นจะซึมซับเอาความรู้จากท่านไปได้มากที่สุด การทำความเข้าใจเด็กจึงเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญไม่แพ้ภูมิความรู้ที่มีอยู่ในตัวครูเลย   ครูจึงควรหันกลับมายอมรับความจริง และพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเองให้เหมาะสม
กับที่เป็นผู้รู้ที่คนทั่วไปยอมรับนับถือ
         ๒.ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากนักเรียน ในสังคมยุคไซเบอร์ ซึ่งสามารถเข้าไปใช้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ทุกภาคส่วน “ เด็ก” ซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้อยากลองจึงมิได้ให้ความสนใจเพียงแค่การศึกษาค้นคว้า ข้อมูลการศึกษาเท่านั้น หากแต่สนใจกับภาคบันเทิงควบคู่ไปด้วย และโดยแท้จริงแล้ว มักจะให้ความสำคัญกับประเด็นหลังมากกว่าการค้นคว้าความรู้เสียด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กนั้นเป็นปมปัญหาสำคัญ ยิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
         ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตนั้นเริ่มลุกลามมาจากโปรแกรมแช็ท รูมและเกมออนไลน์ ซึ่งดูคล้ายเป็นการสนทนากันธรรมดา แต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสแล้ว มิใช่เลย การสนทนาอันไม่มีขีดจำกัดของภาษาทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ดังเช่นที่พบตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน และในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาให้แก่วงการภาษาไทยด้วย นั่นคือการกร่อนคำ
และการสร้างคำใหม่ให้มีความหมายแปลกไปจากเดิม หรืออย่างที่เรียกว่าภาษาเด็กแนวนั่นเอง ดังจะขอยกตัวอย่าง ดังนี้
          สวัสดี เป็น ดีครับ ดีค่ะ
          ใช่ไหม เป็น ชิมิ
          โทรศัพท์ เป็น ทอสับ
          กิน เป็น กิง
          จะเห็นได้ว่าคำเหล่านี้ถูกคิดขึ้นและใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเหตุผล ๒ ประการ  คือ  เพื่อให้ดูเป็นคำที่น่ารัก และพิมพ์ง่ายขึ้น โดยที่ผู้ใช้ไม่คำนึงถึงว่า นั่น คือการทำลายภาษาไทยโดยทางอ้อม เพราะหลายๆคนนำคำเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันเสียด้วยซ้ำ ดังจะเห็นได้ว่า เด็กบางคนนำภาษาเหล่านี้มาใช้ในโรงเรียนจนแพร่หลาย นั่นคือความมักง่ายที่นำพาความหายนะมาสู่วงการภาษาไทยที่ไม่ควรมองข้าม
         ปัญหาการใช้ภาษาไทยเป็นปัญหาที่ลุกลามใหญ่โตกลายเป็นไฟลามทุ่งอยู่ทุกวันนี้ หากไม่ได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ภาษาไทยอันถือเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทยนี้อาจจะบอบช้ำเสียจนเกิน เยียวยา การปลูกฝังจิตสำนึกและความตระหนักแก่ทุกคนในชาติจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะทุกสิ่งที่มนุษย์ยึดถือปฏิบัติล้วนมาจากจิตสำนึกทั้งสิ้น เมื่อกระทำได้ดังนี้แล้ว ไม่ว่าวิถีชีวิตแบบไหน หรือค่านิยมสมัยใหม่ประเภทใดก็ไม่สามารถทำลายภาษาไทยของเราได้อย่างแน่นอน

ปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น

/data/content/25193/cms/e_ajlnptuw2367.jpg

          วัยรุ่นไทยสมัยนี้นิยม ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพื่อการติดต่อที่รวดเร็วและเนื่องจากความเร็วในการ สื่อสารรและความยากลำบากในการพิมพ์ตัวอักษรทำให้วัยรุ่นทำให้คำเหล่านั้น สั้นลงจนกลายเป็นภาษาวิบัติ
              
          ภาษาวิบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ตรงกับกับหลักภาษาในด้านการสะกดคำคำว่า 'ภาษาวิบัติ' ใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อย รวมถึงการใช้คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจากเดิม คำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลี หมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย
          ในประเทศไทย มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาเด็กไทยขาดการศึกษารวมถึงปัญหาภาษาวิบัติทำให้ เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่ภาษาวิบัติที่มีความหมายใน เชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะวงการที่เป็นศัพท์สแลง
          ทั้งนี้ การเปิดใช้พจนานุกรมเพื่อค้นหาคำที่ควรใช้ให้ถูกต้องอาจเป็นทางเลือกที่ ดี[ต้องการอ้างอิง] ทางบัณฑิตยสถานได้กำหนดคำที่ใช้อย่างเป็นทางการหรืออยู่ในรูปแบบมาตรฐาน หากใช้ผิดอาจกลายเป็นคำวิบัติได้[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งคำวิบัติไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของภาษาแต่อย่างใด[ต้องการอ้างอิง] เป็นเพียงการใช้ภาษาให้แตกต่างจากปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจใช้จากรุ่นสู่รุ่นไปจนกว่าคำวิบัตินั้นจะหายไปจากสังคมนั้น ๆ
          นิธิ เอียวศรีวงศ์ ว่า ภาษาวิบัติเป็นการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่ผู้ใหญ่ในสังคมไม่ชอบ แม้ภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ผู้ใหญ่ไม่ชอบให้ภาษาเปลี่ยน การให้เหตุผลว่าภาษาไทยไม่ควรเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นภาษาของชาติที่มีความศักดิ์สิทธิ์ นิธิเห็นว่าเป็นเหตุผลแบบไสยศาสตร์ ไม่ค่อยน่าฟัง นิธิยังเห็นว่า ปัญหาของภาษาไทยในปัจจุบันคือ การใช้ภาษาไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ไวยากรณ์ การใช้ศัพท์หรือการเรียบเรียง เป็นต้น และการไม่ศึกษาภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปนี้เองที่จะเป็นเหตุให้เกิด "ภาษาวิบัติ"


“ภาษาไทย” ยุคใหม่ รู้ใช้ให้ถูกต้อง

/data/content/25190/cms/e_ehklqrtuy157.jpg
         


          ภาษาไทยเป็นทั้งวัฒนธรรม และความภาคภูมิใจของคนไทย แต่ปัจจุบันคนไทยจำนวนไม่น้อย ไม่รู้ว่าพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีกี่รูป กี่เสียง และยังมีคนไทยอีกจำนวนมากที่ยังพูดภาษาไทยผิดบ้าง เขียนผิดบ้าง หรืออ่านผิด บ้างก็รวบรัดตัดตอนคำให้สั้นลง เพื่อความสะดวกจนเกิดปัญหาการสื่อสารและเข้าใจความหมายของภาษาในทางที่ผิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เสน่ห์ของภาษาไทยลดลงไป

    /data/content/25190/cms/e_adfhimnoqyz4.jpg
            แม้ปัญหาการใช้ภาษาไทยได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานหลายสิบปี แต่ในยุคปัจจุบันนี้ปัญหายิ่งวิกฤติความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีปัจจัยหนุนนำที่สำคัญนั่นคือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว เราจึงพบการใช้ภาษาไทยแบบผิด ๆ มากมายจนเกือบจะกลายเป็นความคุ้นชิน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ยิ่งน่าเป็นห่วงมากที่สุดเป็นกลุ่มที่นิยมใช้ภาษาที่มีวิวัฒนาการทางภาษาที่เฉพาะกลุ่มซึ่งเป็นภาษาที่เกือบจะไม่มีไวยากรณ์ ไม่ว่าจะจากการรับส่งข้อความสั้น (SMS)     การสนทนาออนไลน์ (Line)  หรือแม้แต่การแสดงความคิดเห็นในโลกอินเทอร์เน็ต (Facebook)



ภาษาไทย...แก่นแท้แห่งความเป็นไทย


วามเป็นไทยโดดเด่นด้วยภาษา       อักษราล้วนหลากมากความหมาย
                       เสน่ห์เสียงสูงต่ำคำคมคาย                ร่วมสืบสายสานคุณค่าภาษาไทย

            ในโลกนี้จะมีสักกี่ชาติกี่ประเทศ ที่มีภาษาเป็นของตนเอง และจะมีประเทศใดเล่าที่จะมีความงามทางภาษาอันเป็นวิจิตรเอกลักษณ์ ดั่งเช่น ประเทศไทย
           หากจะกล่าวว่า ภาษาไทย  เป็นภาษาที่มีความงาม และไพเราะที่สุดในโลกก็คงไม่ผิดนัก  จากเหตุผลที่ว่าการที่ภาษาไทยมีเสียงสระ และเสียงพยัญชนะ ที่มีการผสมผสานกันอย่างลงตัว น่าทึ่ง  แล้วยังมีเสียงวรรณยุกต์ที่เปรียบเสมือนเสียงสูงต่ำแห่งดนตรี อีกทั้งเรื่องความงดงามของภาษาที่มีการสรรคำมาใช้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้ง การเล่นคำ การหลากคำ  การซ้ำคำ คำพ้อง     หรือคำผวน คำผัน การใช้โวหารต่างๆ เหล่านี้ล้วนแสดงถึงความมีเสน่ห์แห่งภาษาอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง       
           ภาษาไทยถือว่าเป็นวัฒนธรรมประจำชาติแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งและเป็น เครื่องมือสำคัญของการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ผู้ที่สามารถใช้ภาษาได้ดีจึงสามารถประสบความสำเร็จในการสื่อสารในระดับต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และในทางกลับกัน หากมีการนำภาษาไปใช้ไม่เหมาะสม ความผิดเพี้ยนแห่งภาษาย่อมจะส่งผลให้เกิดความเสียหายหลายประการอย่างแน่ นอน   ทั้งความเสียหายโดยตรงคือการใช้สื่อสารอาจไม่ประสบความสำเร็จแล้ว  ยังมีความเสียหายของภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่เราต่างภาคภูมิใจกันมา ช้านาน  
          จากพระราชดำรัสตอนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ว่า  “ภาษาไทยเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่ง  คือเป็นทางสำหรับแสดงความคิดความเห็นอย่างหนึ่ง  เป็นสิ่งสวยงามอย่างหนึ่งเช่นในทางวรรณคดี เป็นต้น  ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาให้ดี  ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองซึ่งต้องหวงแหน”     ซึ่งพระราชทานเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการประชุมทาง วิชาการ  ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อวันที่  ๒๙  กรกฎาคม  ๒๕๐๕    จนเป็นเหตุให้ในเวลาต่อมาคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”เพื่อเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย รวมถึงเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงแสดงความห่วงใยและ พระราชทานแนวคิดต่างๆเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย แนวคิดสำคัญ ๆ เหล่านี้นั้นบ่งชี้ชัด และปลุกทุกคนให้ตระหนักถึงความภาคภูมิใจที่คนไทยมีภาษาประจำชาติ  ทั้งทรงฝากข้อคิดถึงการดำรงรักษาไว้ซึ่งสมบัติล้ำค่าของชาติไว้ว่า
 “เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล  จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออก เสียง  คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน  อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในการใช้”


          สิ่งที่พสกนิกรประจักษ์  ในการเป็น "ในหลวงนักปราชญ์ภาษาไทย"  คือ  การที่ทรงมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทย  ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย  ทั้งภาษาบาลี  และสันสกฤต  ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่ สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์  มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าเป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม  และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย  ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปล  เรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ รวมถึงพระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้น ๆ หลายบท  รวมทั้งพระราชนิพนธ์เรื่อง  พระมหาชนก  และหากกล่าวถึงบทเพลงที่มีความไพเราะทั้งด้านลีลาภาษาและความหมายอันลึกซึ้ง กินใจ  คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ว่าบทเพลงพระราชนิพนธ์แห่งองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นั้นมีความไพเราะน่าฟังยิ่งนัก นั่นแสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพแห่งการใช้ภาษาไทยอย่างแท้จริง
         พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมฯที่มีต่อวงการภาษาไทย  เท่ากับเป็นการจุดประกายในหัวใจของคนไทยทั้งชาติ  ให้เกิดความหวงแหนในภาษาประจำชาติ      
          ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว  เทคนิคใหม่ ๆในการติดต่อสื่อสารผุดขึ้นมากมาย  และเน้นความสะดวกรวดเร็วเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ  ภาษาไทยซึ่งเป็นสื่อกลางสำคัญในการติดต่อสื่อสารและผูกพันต่อการดำรงชีวิต ประจำวันของคนไทย  จึงได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของความเจริญก้าวหน้าเหล่านั้นอย่างยากที่จะหลีก เลี่ยงได้   ภาษาไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนจึงเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างน่าวิตก  และหากไม่เร่งรีบหาทางแก้ไขและป้องกันเสียแต่เนิ่น ๆ   นับวันภาษาไทยก็จะยิ่งเสื่อมลง  เป็นผลเสียต่อเอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยอย่างไม่ต้องสงสัย 
           ภาษาไทยเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติ  เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงความเป็นคนไทยอันน่าภาคภูมิใจยิ่ง นัก      จะมีสิ่งใดที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นเกราะป้องกันภาษาประจำชาติจากการถูกคุก คาม  นอกเสียจากว่าคนไทยจะมีจิตสำนึก  ตระหนักถึงคุณค่าของการมีภาษาประจำชาติ และสนองตอบต่อพระราชดำรัสแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในด้านการใช้ ภาษาไทยและดำรงรักษาภาษาไทยไว้คู่กับเอกราชของชาติไทยตลอดไป
                         คือแก่นแท้แลหัวใจไทยทั้งชาติ   คือศิลป์ศาสตร์แห่งศักดิ์ศรีที่สืบสาน
                      คือลีลาลำนำคือคำกานท์               ประจักษ์จารขานค่าคำว่าไทย
                     วัฒนธรรมล้ำค่าศรัทธามั่น               ร่วมสร้างสรรค์ส่งเสริมทุกสมัย
                      เอกลักษณ์แห่งชาติประกาศไกร      เกิดเป็นไทยให้รู้ค่าภาษาตน 
                                                                               ค

รณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

เชิญชวนบุคลากรกองคลังรณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เนื่องในวันภาษาไทย วันที่ 29 กรกฎาคม
กลุ่ม ประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (2549). 29 ก.ค. นี้ ร่วมรำลึกปูมหลัง วันภาษาไทยแห่งชาติ. (ค้นเมื่อ วันที่ 31 กรกฎาคม 2549). จาก http://modernine.mcot.net/
การ ที่คนไทยเรา พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยเป็นประจำทุกวัน จนเกิดความเคยชิน อาจจะทำให้หลายๆ คนไม่รู้สึกว่า “ภาษาไทย” มีความสำคัญแค่ไหน และมีคุณค่าเพียงไร หากจะเปรียบก็คงเหมือนกับ “อากาศ” ที่เราหายใจเข้าหายใจออกอยู่ตลอดเวลา จนเราแทบไม่รู้ค่าว่า หากขาดอากาศเมื่อไร เราก็ตายเมื่อนั้น ถึงแม้ว่า “ภาษาไทย” จะไม่เหมือนอากาศที่ทำให้เราถึงกับตาย แต่ถ้าหากชาติไทยเราขาด “ภาษาไทย” เมื่อไร นั่นก็หมายความว่า “ความเป็นชาติ” ส่วนหนึ่งก็สูญสิ้นไปด้วย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งว่า “ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์ แน่นแฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น และไม่มีสิ่งไร ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันแน่นอน ยิ่งไปกว่าพูดภาษาเดียวกัน” คนไทยเราแม้จะต่างเผ่าพันธุ์ ต่างเชื้อชาติ ต่างท้องถิ่น หรือต่างศาสนา แต่เมื่อใดก็ตามที่เราต่างพูด “ภาษาไทย” ทุกคนย่อมรู้สึกได้ทันที ถึงความเป็นพวกเดียวกัน ความเป็นชาติเดียวกัน ดังนั้น “ภาษา” จึงเป็นสิ่งที่จะร้อยรัด และผูกพันคนในชาติ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยิ่งหากอาศัยอยู่ในต่างประเทศ หรือแม้แต่ไปเที่ยว ถ้าได้ยินใครก็ตามพูด “ภาษาไทย” ขึ้นมา เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ จะเกิดความรู้สึกยินดีว่า เจอพวกเดียวกันแล้ว เจอคนไทยด้วยกันแล้ว
การที่ “ภาษา” เป็นสิ่งสำคัญก็เพราะว่า ภาษาเป็นสื่อเสียง และสื่อสัญลักษณ์ของมนุษยชาติ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ และสั่งสมของบรรพบุรุษสืบทอดมาสู่ลูกหลาน เป็นเครื่องมือที่ทำให้คนในชาตินั้นๆ ติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ และเป็นเหตุให้วัฒนธรรมในด้านอื่นๆ เจริญขึ้นด้วย หากไม่มี “ภาษา” มนุษย์ก็คงไม่สามารถ สืบทอดวิชาการความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง และไม่อาจพัฒนาหรือรักษา “ความเป็นชาติ” ของตนไว้ได้ “ภาษา” จึงเป็นสมบัติทางวัฒนธรรม ที่ทรงคุณค่ายิ่งของแต่ละชาติ
อาจารย์จำ นงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิตยสถาน ได้เคยเขียนคำนำในหนังสือ “ภาษาของเรา” ตอนหนึ่งว่า “ในฐานะที่คนไทยเรา เป็นชาติที่มีวัฒนธรรมของตนเอง มานับเป็นเวลาพันๆ ปี เรามีภาษาพูด ภาษาเขียน และเลขของเราใช้โดยเฉพาะ ซึ่งแม้แต่ชาติที่เจริญ หรือเป็นมหาอำนาจอื่นๆ บางชาติก็หามีครบอย่างเรา ไม่บางชาติอาจจะมีแต่ภาษาพูด ขาดภาษาเขียน หรือบางชาติมีภาษาเขียน มีตัวหนังสือของตัวเอง แต่ขาดเลข ต้องขอยืมของชาติอื่นเขามาใช้ จึงนับว่า เป็นสิ่งที่เราน่าจะภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เราจึงควรที่จะช่วยกันรักษา และส่งเสริมวัฒนธรรมในด้านภาษาของเรา ให้ยืนยงต่อไปตลอดกาล ชาติที่เป็นมหาอำนาจทางอาวุธ แต่ขาดอำนาจในทางวัฒนธรรมนั้น แม้จะเป็นผู้พิชิตทางด้านการทหาร ก็จะถูกพิชิตทางด้านวัฒนธรรม อย่างพวกตาดมองโกล ที่พิชิตเมืองจีน แล้วตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นมาครองจีน ในที่สุดก็ถูกพวกจีน ที่มีวัฒนธรรมสูงกว่า กลืนชาติหมด.....วัฒนธรรมจึงนับว่าสำคัญยิ่ง ในอันที่จะพิชิตใจคน การพิชิตทางกายนั้น อาจกลับถูกพิชิตได้ง่าย แต่การพิชิตทางด้านวัฒนธรรมนั้น เป็นการพิชิตทางด้านจิตใจ จึงเป็นการพิชิตที่นุ่มนวล เป็นการพิชิตที่ผู้ถูกพิชิตยอมสมัครใจให้พิชิต วัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของไทย และเป็นวัฒนธรรมไทยแท้ๆ ก็คือ ภาษา ซึ่งแม้ต่อมา จะมีภาษาอื่นมาปะปนอยู่บ้าง แต่ก็เป็นภาษาที่ถูกเรากลืนให้เป็นไทยหมดแล้วทั้งนั้น จึงนับว่าเป็นภาษาไทยโดยแท้”
อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายว่า ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา นอกจากจะทำให้วิถีชีวิต ของประชาชนคนไทย เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายแล้ว อิทธิพลของกระแสวัฒนธรรมต่างชาติ ที่หลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเทคนิคการสื่อสารสมัยใหม่ ยังมีส่วนทำให้ “ภาษาไทย” ที่ใช้ในปัจจุบัน ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน อยู่ในสภาวะเสื่อมโทรมลงอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากคนไทยเอง ได้ละเลยต่อความสำคัญ ในการใช้ภาษาไทย และมีการใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยน ในการสื่อสารมากขึ้นทุกที จนเป็นที่น่าวิตกว่า หากไม่รีบช่วยกันแก้ไข นานไปเอกลักษณ์ และคุณค่าของภาษาไทย อาจสูญหายไปจนหมดสิ้น
ด้วยเหตุ นี้ จึงได้มีการเสนอให้รัฐบาลจัดตั้ง “วันภาษาไทย” ขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้น และปลุกจิตสำนึกให้คนไทย ได้ตระหนัก และเห็นคุณค่าของภาษาไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรี ก็ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2542 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และสนองพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ท่านในด้านภาษาไทย รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้สถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานต่างทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนชาวไทย ได้ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมใจกันใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และรักษาภาษาไทย อันเป็นภาษาประจำชาติไว้ให้งดงามยั่งยืนตลอดไป การที่กำหนดเป็นวันนี้ เนื่องจากตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงเสด็จฯ ไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิ ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 เกี่ยวกับปัญหาการใช้คำไทย ซึ่งได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถ และความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจ ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง และนับเป็นครั้งแรก และครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว
พระราชดำรัสในครั้งนั้น ตอนหนึ่งความว่า “เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่ง ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็น ในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก...”นอกจากนี้ ยังมีพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2512 ความว่า “ในปัจจุบันนี้ ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคน จึงมีหน้าที่จะตัองรักษาไว้ ฉะนั้น จึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษา ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ”
ใน หนังสือ “ภาษาไทยเรานี้มีทำนอง” ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้กล่าวว่าชาติไทย เป็นชาติที่มีภาษาเป็นของตนเองมาตั้งแต่อดีตกาล บ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์ และศักดิ์ศรีที่น่าภาคภูมิใจ “ภาษาไทย” เป็นภาษาที่มีการจัดวางระเบียบแบบแผน ไว้อย่างประณีตบรรจง มีความอลังการแห่งศิลปะ ของการผสมผสานเรียงร้อยถ้อยคำให้เป็นท่วงทำนองที่ไพเราะ และเหมาะสมอย่างยิ่ง ดังนั้น ในโอกาส “วันภาษาไทย”ที่ 29 กรกฎาคมนี้ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านได้น้อมรำลึก และปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท ด้วยการช่วยกันธำรงรักษา “ภาษาไทย” ที่น่าภาคภูมิใจของเรา ให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าสืบทอดต่อไปยังอนุชนรุ่นหลังอย่างถูกต้อง และงดงามตลอดไป
(ขอขอบคุณข้อมูลข่าว... อมรรัตน์ เทพกำปนาท กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม)
จาก บทความข้างต้น ขอเชิญชวนให้บุคลากรกองคลังทุกท่านในฐานะลูกพ่อขุนร่วมกันน้อมรำลึกถึงพระ บิดาแห่งอักษรไทย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของชาวไทย

ภาษาไทยกับวัยรุ่นไทย

สังคมเราในปัจจุบันนี้โลกเราได้มีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องอย่างมาก ในชีวิตของคนไทยเรา ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันรวมทั้งการสื่อสารด้วย ซึ่งในประเทศไทยนี้เยาวชนยุคใหม่บางส่วนได้นำค่านิยมผิด ๆ มาใช้กัน นั้นก็คือการใช้ภาษาไทยที่ผิด โดยเยาวชนกลุ่มนั้นคิดว่าเมื่อใช้แล้วมันเก๋ดี มันเท่ห์ดี แต่หารู้ไม่ว่าอาจจะทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชน ยุคหลังๆใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องตามไปด้วย ประเทศไทยของเรามีภาษาเป็นของตนเองแสดงออกถึงความเป็นเอกราชและความภาคภูมิ ใจของคนไทยเรา ภาษาไทยเป็นมรดกของคนไทยมายาวนาน แต่เยาวชนยุคบางส่วนใหม่กลับไม่รู้คุณค่าของมันเลย
      การใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆ ของวัยรุ่นนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไปจริง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารกันทาง msn เช่นคำว่า ทามอะไรอยู่-ทำอะไรอยู่ เปนอะไร-เป็นอะไร เพราะคำเหล่านี้ทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว และดูเก๋ด้วย แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทย 1คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมีพยัญขนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไป เป็นเสมือนการสร้างคำ สร้างภาษให้มีการวิบัติมากขึ้น การใช้คำใช้ภาษาไปผิดๆ ทำให้เป็นการฝึกนิสัยในการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา และฉันกลาพูดได้เลยว่าวัยรุ่นไทยสมัยนี้เขียนคำ สะกดคำในภาษาไทย ได้ไม่ถูกตามตัวสะกด และเขียนภาษาไทยได้ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา พูดไม่ถูกอักขระ ไม่มีคำควบกล้ำ บางคนพูดภาษาไทยไม่ชัดเจนด้วยซ้ำไปและอยากจะยกตัวอย่างการใช้ภาษาไทยของวัย รุ่นจากความคิดเห็นของดร.นพดล กรรณิกา ว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนาม เรื่อง วันภาษาไทยแห่งชาติ กับสิ่งที่คนไทยต้องการรักษาไว้ในสังคมไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 2,277 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 17-20 ก.ค. พบประเด็นแรกที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3 ไม่ทราบว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันใด มีเพียงร้อยละ 14.7 ที่ทราบและตอบถูกว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เมื่อสอบถามความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.9 ไม่ทราบว่าภาษาไทยมีสระกี่รูป ร้อยละ 81.2 ไม่ทราบความหมายของร้อยกรอง ร้อยละ 75.0 ไม่ทราบความหมายของร้อยแก้ว ร้อยละ 64.2 ไม่ทราบวรรณยุกต์ในภาษาไทยว่ามีกี่รูป และร้อยละ 11.7 ไม่ทราบว่าพยัญชนะไทยมีกี่ตัว  เมื่อถามถึงพยัญชนะภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด พบว่า ร้อยละ 26.1 ระบุเป็นตัว “ฎ” รองลงมาคือ ร้อยละ 13.6 ระบุ เป็น “ฏ” ร้อยละ 9.8 ระบุเป็น “ร” ร้อยละ 5.8 ระบุเป็น “ฑ” ร้อยละ 4.5 ระบุเป็น “ณ” และร้อยละ 4.5 เท่ากัน ระบุเป็น “ฐ” ตามลำดับ  นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 มีปัญหาเรื่องเขียนภาษาไทยผิด ร้อยละ 31.9 จับใจความผิด ร้อยละ 29.6 พูดผิด ร้อยละ 27.5 อ่านผิด ร้อยละ 18.6 ฟังผิด เป็นต้น
        ส่วนกลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ระบุคือกลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 46.0 ระบุเป็นกลุ่มนักร้อง ร้อยละ 44.8 ระบุเป็นกลุ่มดารานักแสดง ร้อยละ 18.1 ระบุผู้ดำเนินรายการวิทยุ ร้อยละ 17.2 ระบุเป็นนักการเมือง ร้อยละ 17.2 ระบุเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ ร้อยละ 15.8 ระบุเป็นผู้ประกาศข่าว และร้อยละ 8.9 ระบุเป็นครูอาจารย์ ตามลำดับ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.5 ระบุต้องเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้ ในขณะที่เพียงร้อยละ 7.5 ระบุว่าไม่ต้องเร่งแก้ไข เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ต้องรักษาไว้ในสังคมไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 ระบุเป็นศิลปวัฒนธรรม รองลงมาคือร้อยละ 68.5 ระบุภาษาไทย ร้อยละ 68.1 ระบุเป็นการช่วยเหลือ มีน้ำใจต่อกัน ร้อยละ 60.1 ระบุความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ ร้อยละ 59.5 ระบุการเคารพผู้อาวุโส ร้อยละ 59.0 ระบุความสามัคคี ร้อยละ 56.9 ระบุความรักชาติ ร้อยละ 54.1 ระบุการให้อภัย และร้อยละ 46.9 ระบุความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรม ตามลำดับ...อ้างอิง http://sz4m.com/b3783173

เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ

เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ

เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ


เรียงความวันภาษาไทยเรื่องที่ 1

 


ภาษาไทย คือหัวใจของชาติ


              ความเป็นไทยโดดเด่นด้วยภาษา   อักษราล้วนหลากมากความหมาย
 เสน่ห์เสียงสูงต่ำคำคมคาย                        ร่วมสืบสายสานคุณค่าภาษาไทย


     ในโลกนี้จะมีสักกี่ชาติกี่ประเทศ ที่มีภาษาเป็นของตนเอง และจะมีประเทศใดเล่าที่จะมีความงามทางภาษาอันเป็นวิจิตรเอกลักษณ์ ดั่งเช่น ประเทศไทย

        หากจะกล่าวว่า ภาษาไทย  เป็นภาษาที่มีความงาม และไพเราะที่สุดในโลกก็คงไม่ผิดนัก  จากเหตุผลที่ว่าการที่ภาษาไทยมีเสียงสระ และเสียงพยัญชนะ ที่มีการผสมผสานกันอย่างลงตัว น่าทึ่ง  แล้วยังมีเสียงวรรณยุกต์ที่เปรียบเสมือนเสียงสูงต่ำแห่งดนตรี อีกทั้งเรื่องความงดงามของภาษาที่มีการสรรคำมาใช้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้ง การเล่นคำ การหลากคำ  การซ้ำคำ คำพ้อง     หรือคำผวน คำผัน การใช้โวหารต่างๆ เหล่านี้ล้วนแสดงถึงความมีเสน่ห์แห่งภาษาอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง     

           ภาษาไทยถือว่าเป็นวัฒนธรรมประจำชาติแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งและเป็น เครื่องมือสำคัญของการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ผู้ที่สามารถใช้ภาษาได้ดีจึงสามารถประสบความสำเร็จในการสื่อสารในระดับต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และในทางกลับกัน หากมีการนำภาษาไปใช้ไม่เหมาะสม ความผิดเพี้ยนแห่งภาษาย่อมจะส่งผลให้เกิดความเสียหายหลายประการอย่างแน่ นอน   ทั้งความเสียหายโดยตรงคือการใช้สื่อสารอาจไม่ประสบความสำเร็จแล้ว  ยังมีความเสียหายของภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่เราต่างภาคภูมิใจกันมา ช้านาน

เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ
เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ


          จากพระราชดำรัสตอนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ว่า  “ภาษาไทยเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่ง  คือเป็นทางสำหรับแสดงความคิดความเห็นอย่างหนึ่ง  เป็นสิ่งสวยงามอย่างหนึ่งเช่นในทางวรรณคดี เป็นต้น  ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาให้ดี  ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองซึ่งต้องหวงแหน”     ซึ่งพระราชทานเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการประชุมทาง วิชาการ  ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อวันที่  ๒๙  กรกฎาคม  ๒๕๐๕    จนเป็นเหตุให้ในเวลาต่อมาคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”เพื่อเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย รวมถึงเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงแสดงความห่วงใยและ พระราชทานแนวคิดต่างๆเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย แนวคิดสำคัญ ๆ เหล่านี้นั้นบ่งชี้ชัด และปลุกทุกคนให้ตระหนักถึงความภาคภูมิใจที่คนไทยมีภาษาประจำชาติ  ทั้งทรงฝากข้อคิดถึงการดำรงรักษาไว้ซึ่งสมบัติล้ำค่าของชาติไว้ว่า

      “เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล  จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออก เสียง  คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน  อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในการใช้”

เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ
เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ

          สิ่งที่พสกนิกรประจักษ์  ในการเป็น "ในหลวงนักปราชญ์ภาษาไทย"  คือ  การที่ทรงมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทย  ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย  ทั้งภาษาบาลี  และสันสกฤต  ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่ สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์  มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าเป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม  และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย  ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปล  เรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ รวมถึงพระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้น ๆ หลายบท  รวมทั้งพระราชนิพนธ์เรื่อง  พระมหาชนก  และหากกล่าวถึงบทเพลงที่มีความไพเราะทั้งด้านลีลาภาษาและความหมายอันลึกซึ้ง กินใจ  คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ว่าบทเพลงพระราชนิพนธ์แห่งองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นั้นมีความไพเราะน่าฟังยิ่งนัก นั่นแสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพแห่งการใช้ภาษาไทยอย่างแท้จริง

เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ
เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ

         พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมฯที่มีต่อวงการภาษาไทย  เท่ากับเป็นการจุดประกายในหัวใจของคนไทยทั้งชาติ  ให้เกิดความหวงแหนในภาษาประจำชาติ    

        ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว  เทคนิคใหม่ ๆในการติดต่อสื่อสารผุดขึ้นมากมาย  และเน้นความสะดวกรวดเร็วเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ  ภาษาไทยซึ่งเป็นสื่อกลางสำคัญในการติดต่อสื่อสารและผูกพันต่อการดำรงชีวิต ประจำวันของคนไทย  จึงได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของความเจริญก้าวหน้าเหล่านั้นอย่างยากที่จะหลีก เลี่ยงได้   ภาษาไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนจึงเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างน่าวิตก  และหากไม่เร่งรีบหาทางแก้ไขและป้องกันเสียแต่เนิ่น ๆ   นับวันภาษาไทยก็จะยิ่งเสื่อมลง  เป็นผลเสียต่อเอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยอย่างไม่ต้องสงสัย

เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ
เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ

         ภาษาไทย เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติ  เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงความเป็นคนไทยอันน่าภาคภูมิใจยิ่ง นัก      จะมีสิ่งใดที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นเกราะป้องกันภาษาประจำชาติจากการถูกคุก คาม  นอกเสียจากว่าคนไทยจะมีจิตสำนึก  ตระหนักถึงคุณค่าของการมีภาษาประจำชาติ และสนองตอบต่อพระราชดำรัสแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในด้านการใช้ ภาษาไทยและดำรงรักษาภาษาไทยไว้คู่กับเอกราชของชาติไทยตลอดไป


                         คือแก่นแท้แลหัวใจไทยทั้งชาติ   คือศิลป์ศาสตร์แห่งศักดิ์ศรีที่สืบสาน
                      คือลีลาลำนำคือคำกานท์               ประจักษ์จารขานค่าคำว่าไทย
                     วัฒนธรรมล้ำค่าศรัทธามั่น               ร่วมสร้างสรรค์ส่งเสริมทุกสมัย
                      เอกลักษณ์แห่งชาติประกาศไกร      เกิดเป็นไทยให้รู้ค่าภาษาตน

จาก sahavicha.com

เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ



เรียงความวันภาษาไทยเรื่องที่ 2 "โชคดีที่มีภาษาไทย"



โชคดีที่มีภาษาไทย

เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ
เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ


“ ... เรามีโชคดีที่มีภาษาเป็นของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะ ในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบเป็นประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ ... "

     พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานการประชุมคณะกรรมการชุมนุมภาษาไทย ในการประชุมทางวิชาการ ของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕

     ภาษาไทย เป็นภาษาที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาษาที่มีความไพเราะภาษาหนึ่งในโลก

    เป็นภาษาที่เกิดจากอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษไทยที่ได้สั่งสมและถ่ายทอดมาเป็น เวลาหลายร้อยปีนับตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นจวบจบ ปัจจุบัน แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงตระหนักถึงปัญหาในการใช้ภาษาไทย จนกลายเป็นต้นกำเนิดของ "วันภาษาไทยแห่งชาติ"

เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ
เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ


    เพื่อเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้คนไทยภูมิใจในเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็น ชาติไทย แสดงถึงความเป็นชนชาติที่มีภาษาเป็นของตนเอง ในขณะที่หลายประเทศในโลกนั้นไม่มีภาษาซึ่งแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
  
     ภาษาไทย มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เป็นภาษาดนตรี เนื่องจากเป็นภาษาที่มีครบทั้งเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เป็นภาษาที่สามารถใช้บันทึกเสียงที่เปล่งออกมาได้เกือบจะครบถ้วน เช่น ภาษาจีนจะไม่สามารถบันทึกเสียง "ด" ได้

     นอกจากนี้ภาษาไทยยัง เป็นภาษาที่มีจังหวะจะโคน มีสัมผัสคล้องจองที่ไพเราะเสนาะหูเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาอื่น สะท้อนถึงอุปนิสัยของคนไทยที่เป็นคนเรียบง่ายแต่งดงาม อยู่กับธรรมชาติและเสพสุนทรียะจากสิ่งรอบตัวได้ จะมีรูปแบบฉันทลักษณ์ที่เป็นแบบแผน มีการใช้กลบท เล่นเสียง เล่นคำ และรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งล้วนแล้วแต่กลั่นกรองมากจากธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกลบทบัวบานขยายกลีบ กลบทงูกินหาง กลบทสะบัดสะบิ้ง ซึ่งหาภาษาอื่นใดในโลกที่จะทำได้เช่นนี้ไม่มีอีกแล้ว

เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ
เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ

     ภาษาไทยเป็นภาษาที่แสดงถึงความมีสัมมาคารวะ เพราะว่ามีระดับของภาษา เช่น ภาษาทางการ ภาษากึ่งทางการ ภาษาปาก ซึ่งต้องใช้ให้ถูกกาลเทศะ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า กิน ของพระใช้ ฉัน ของคนธรรมดาใช้ รับประทาน ของพระมหากษัตริย์ใช้ เสวย

เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ
เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ

     แต่ในปัจจุบันเราจะเห็นว่า ภาษาไทยถูกนำมาใช้อย่างผิดๆ เกิดการสร้างคำแบบใหม่ มีการตัดคำและไม่มีกาลเทศะในการใช้คำ แม้ว่าธรรมชาติของภาษาจะบอกว่า "ภาษาที่มีชีวิตนั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลง" แต่ทว่าหากภาษาไทยเปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ เกรงว่าเอกลักษณ์ของชาติคงจะเสียหายและสูญหายไปในที่สุด เพราะเหตุนี้เราจึงควรร่วมกันอนุรักษ์ภาษาไทย เพราะ "เราโชคดีที่มีภาษาไทย" ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ


เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ ตัวอย่างเรียงความภาษาไทย